Last updated: 28 ก.ค. 2563 | 2420 จำนวนผู้เข้าชม |
ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง (Ptosis)
เป็นปัญหาที่ซ่อนเร้นพบได้ทุกเพศทุกวัย ไม่เว้นแม้ในผู้ที่มีตาสองชั้น ผู้ที่มีตาชั้นเดียว หรือชั้นตาหลบใน ส่วนมากจะทราบว่ามีปัญหานี้ก็ต่อเมื่ออยากทำตาสองชั้น มารู้ตัวอีกทีว่ามีอาการนี้ร่วมอยู่ด้วยก็ตอนที่มาพบจักษุแพทย์ คืออาการที่เปลือกตาบนจะหย่อนลงมามากกว่าปกติ เนื่องจากกล้ามเนื้อตามีปัญหาเรื่องของการอ่อนแรง ไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ
ลักษณะของกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงส่งผลอย่างไรบ้าง?
- หากเป็นในวัยเด็ก เด็กมักมีอาการแหงนหน้ามอง หากไม่ได้รับการแก้ไขในเวลาที่เหมาะสมจะส่งผลเสียต่อการมองเห็นถาวรได้ เกิดภาวะตาขี้เกียจ
- ส่งผลให้เกิดการสูญเสียบุคลิกภาพที่ดี เสียความมั่นใจ
- เกิดริ้วรอยก่อนวัยอันควร
- ถ้าเป็นมากมักส่งผลต่อการมองเห็นในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งอาการนี้อาจเกิดขึ้นกับดวงตาเพียงข้างเดียว หรือสองข้างก็ได้ ขึ้นอยู่กับสาเหตุ
สาเหตุของกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ได้แก่
1. เป็นตั้งแต่กำเนิด (Congenital Ptosis)
2. อายุที่มากขึ้น (Involutional Ptosis)
3. อุบัติเหตุหรือมีการผ่าตัดบริเวณเปลือกตา ทำให้เกิดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงภายหลังได้ (Traumatic Ptosis)
4. ระบบประสาทผิดปกติ (Neurogenic Ptosis) อาจเกิดจากการทำงานของเส้นประสาทสมองผิดปกติ หรือเกิดจากสารสื่อประสาททำงานผิดปกติ เช่น โรค Myastenia Gravis (MG)
5. มีก้อนมากดทับขวางการทำงานของกล้ามเนื้อตา (Mechanical Ptosis)
การรักษา
การรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ควรให้จักษุแพทย์เฉพาะทางเป็นผู้ตรวจและวินิจฉัยจากภาวะความรุนแรงและสาเหตุ เพื่อหาวิธีการรักษาที่ตรงจุด
1. ผ่าตัดโดยการปรับกล้ามเนื้อตา Levator Palpebrae Superioris หรือร้อยเอ็นเทียม
2. ยารักษา เช่น โรค Myastenia Gravis (MG)
3. ผ่าตัดเอาก้อนเนื้อออก ในรายที่เกิดจากก้อนเนื้อกดทับ
การผ่าตัดแก้ไขปัญหากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง เป็นการผ่าตัดเล็ก หลังจากผ่าตัดเสร็จแล้วผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้เลย การผ่าตัดทำได้โดยการฉีดยาชาเฉพาะที่ และใช้เวลาในการผ่าตัดประมาณ 2-3 ชั่วโมงขึ้นไป ขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละบุคคล
สนใจอ่านบทความต่อ คลิก!
บทความที่เกี่ยวข้อง
ข้อควรรู้ของสาวๆ หลังอัพไซส์หน้าอก
เทคนิคการเลือกรูปทรงหน้าอกให้สวยและได้สัดส่วน
ซิลิโคนมีกี่แบบและมีหลักการเลือกอย่างไร?