Last updated: 23 ธ.ค. 2565 | 349 จำนวนผู้เข้าชม |
โรคตาขี้เกียจเป็นภาวะความผิดปกติ ที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ โดยที่บางครั้งลักษณะอาการก็อาจสังเกตเห็นได้ยาก ซึ่งคำถามว่าโรคตาขี้เกียจคืออะไร ตาขี้เกียจรักษาหายได้ไหม หรือแม้แต่โรคตาขี้เกียจนี้เกิดจากอะไร
บทความนี้ ได้รวบรวมคำตอบที่หลายคนอยากรู้ไว้เรียบร้อยแล้ว ก็จะมีคำตอบกับคำถามเหล่านี้ทั้งสิ้นในบทความนี้
โรคตาขี้เกียจ (Lazy Eye หรือ Amblyopia) เป็นภาวะที่ดวงตาทั้งสองข้างมีการทำงานไม่เท่ากัน โดยดวงตาข้างที่มีปัญหาจะทำงานได้น้อยลงและเริ่มพร่ามัว เนื่องจากพัฒนาการด้านการมองเห็นเริ่มสูญเสีย หากปล่อยไว้จะมีอาการรุนแรงขึ้น ซึ่งเป็นตาขี้เกียจชนิดที่พบบ่อยที่สุด พบได้ในเด็กอายุตั้งแต่ 2 - 7 ปี โดยโรคนี้สามารถเป็นได้ตั้งแต่กำเนิด หรือเกิดขึ้นในภายหลัง ส่งผลให้ในกรณีของผู้ป่วยเด็กบางราย ผู้ปกครองไม่สามารถสังเกตเห็นความผิดปกติที่เกิดขึ้น หรือในบางรายอาจตรวจพบปัญหาสายตาเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว
ผู้ป่วยโรคตาขี้เกียจบางราย อาจมีปัญหาเกี่ยวกับการรับรู้เชิงลึกและการมองระยะไกล เนื่องจากตาด้านใดด้านหนึ่งโฟกัสวัตถุไม่ได้ สมองจึงพยายามชดเชยการมองเห็นด้วยการโฟกัสไปที่วัตถุใกล้ๆ แทนวัตถุที่อยู่ไกลออกไป จึงมองเห็นเป็นภาพซ้อน เมื่อมองสิ่งที่อยู่ไกล เช่น ผู้ป่วยอาจมีปัญหาในการมองตัวอักษรบนกระดาน หรือจอคอมพิวเตอร์ เพราะตัวอักษรไม่ชัดเจนหรือไม่อยู่ในระยะโฟกัส
โดยเบื้องต้น สำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาในการมองเห็น จะได้รับแว่นตาสายตาหรือคอนแทคเลนส์ เพื่อให้กลับมามองเห็นได้ชัดเจนอีกครั้ง แต่หากอาการไม่ดีขึ้นหลังจากใส่แว่นเป็นเวลาหลายเดือน อาจเป็นข้อบ่งชี้ว่ามีปัญหาการมองเห็น หรือเป็นโรคตาขี้เกียจได้เช่นกัน
การมีสิ่งกีดขวางการมองเห็น เช่น ต้อกระจก ต้อหิน จอประสาทตาลอก ม่านตาอักเสบ จอประสาทตาเสื่อม และโรคเกี่ยวกับเส้นประสาทตา เช่น โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง ภาวะเหล่านี้ทำให้เรตินา หรือจอประสาทตาเสียหาย จึงทำให้ภาพไม่สามารถผ่านได้อย่างเหมาะสม ส่งผลให้ลานสายตาบางส่วนได้รับแสงไม่เพียงพอ สิ่งนี้นำไปสู่การมองเห็นไม่ชัดหรือบิดเบี้ยว ซึ่งก่อให้เกิดโรคตาขี้เกียจได้
สำหรับผู้ที่มีอาการเหล่านี้ อาจเป็นข้อบ่งชี้ว่า มีปัญหาเกี่ยวกับสายตา หรืออาจเป็นโรคตาขี้เกียจได้ ในกรณีของเด็กที่มีภาวะตาขี้เกียจควรได้รับการตรวจโดยกุมารแพทย์ทันที แม้ว่าเด็กจะไม่บ่นเกี่ยวกับปัญหาสายตา แต่ผู้ปกครองอาจสังเกตเห็นสิ่งผิดปกติระหว่างทำกิจกรรมประจำวันได้ ตัวอย่างเช่น
โรคตาขี้เกียจเป็นความผิดปกติที่สามารถเกิดได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ โดยมีความคล้ายคลึงกันในหลายด้าน เช่น อาการของโรค แต่ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างตาขี้เกียจในเด็กและตาขี้เกียจในผู้ใหญ่อยู่ที่ ในกรณีของเด็กสามารถเกิดจากปัจจัยทางกรรมพันธุ์และมีความผิดปกติแต่กำเนิดได้
ในขณะที่กรณีของผู้ใหญ่นั้นอาจเกิดจากโรคหรือพฤติกรรมบางอย่าง เช่น นอนเล่นโทรศัพท์โดยที่ตาข้างหนึ่งถูกหมอนปิดอยู่ ซึ่งจะทำให้ดวงตาเสียสมรรถภาพไปในภายหลัง หรืออาจจะเกิดจากอาการตาขี้เกียจที่มีมาตั้งแต่เด็กโดยที่ไม่เคยรักษาหรือรู้ตัว จนกระทั่งอาการแย่ขึ้นตอนเป็นผู้ใหญ่
โรคตาขี้เกียจสามารถแก้ไขได้ หากตรวจพบตั้งแต่เนิ่นๆ และรักษาให้ถูกวิธี โดยการรักษาตาขี้เกียจนั้นในเบื้องต้น จะมุ่งเน้นทำให้ตาข้างที่มีปัญหาทำงานและแข็งแรงมากขึ้น โดยให้ผู้ป่วยเริ่มโฟกัสวัตถุที่อยู่ไกลออกไป ซึ่งจะช่วยให้ตาขี้เกียจมีอาการน้อยลงและหายไปในที่สุด
หากต้องการทราบว่าจะใช้เวลานานเท่าใดในการรักษาโรคตาขี้เกียจ คำตอบนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ข้อจำกัดของร่างกายคนไข้ และความรุนแรงของโรค ทั้งนี้ ในการรักษาให้หายขาด จำเป็นต้องได้รับการบำบัดหลายครั้ง และมีวินัยในการดูแลตัวเอง ซึ่งโดยเฉลี่ยจะใช้เวลาอยู่ที่ 6 เดือน - 2 ปี ถึงจะสามารถมองเห็นได้เป็นปกติ โดยวิธีที่แพทย์ใช้ในการรักษาโรคตาขี้เกียจมีหลายวิธี เช่น
การรักษาโรคตาขี้เกียจด้วยการผ่าตัด เป็นวิธีที่แพทย์จะพิจารณาทำเมื่อการรักษาด้วยวิธีการอื่นไม่สัมฤทธิ์ผล หรืออาการของโรคมีสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับรูปร่างของดวงตาโดยตรง เช่น ตาเข หรือตาเหล่ หนังตาตก ซึ่งการผ่าตัดแก้ไขกล้ามเนื้อตาควรปรึกษาจักษุแพทย์ที่มากประสบการณ์ เพื่อที่จะได้วิธีการรักษาที่เหมาะสมและปลอดภัยที่สุด
โรคตาขี้เกียจ คือ โรคที่ทำให้ดวงตามีประสิทธิภาพแย่ลง ที่สามารถพบได้ทั้งในวัยเด็ก และผู้ใหญ่ ดังนั้น จึงควรป้องกันให้เร็วที่สุด ไม่ว่าจะด้วยการหมั่นสังเกตอาการที่สื่อว่าจะเป็นตาขี้เกียจ และเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ที่จะทำให้เกิดโรคตาขี้เกียจได้ แต่เมื่อเป็นโรคตาขี้เกียจนี้แล้วก็สามารถรักษาให้หายได้ ไม่ว่าจะทำผ่านเครื่องมือช่วยเหลือต่างๆ หรือการเข้าพบแพทย์เพื่อรับการผ่าตัด เพราะหากปล่อยไว้อาจจะทำให้อาการแย่ขึ้นและรักษายากขึ้นเรื่อยๆ