บทความให้ความรู้เกี่ยวกับการ เสริมหน้าอก ศัลยกรรมเสริมหน้าอก การเตรียมตัว รูปแบบการผ่าตัด การดูแลหลังเสริมนมว่าต้องดูแลอะไรบ้าง ผลข้างเคียงต่างๆ โดย คุณหมอหลุยส์ นพ. พลเดช สุวรรณอาภา วุฒิบัตรศัลยแพทย์เฉพาะทาง โดยแพทย์สภา ซึ่งปัจจุบันคุณหมอประจำอยู่ที่ JaremClinic
การ "เพิ่มขนาดหน้าอก" ให้หน้าอกใหญ่ขึ้น สามารถทำได้ด้วยวิธีต่างๆ ตั้งแต่การใช้สารเติมเต็มฉีดเข้าไปในเนื้อนม ไม่ว่าจะเป็นฟิลเลอร์ เสริมหน้าอกด้วยไขมันตัวเอง หรือผ่าตัดใส่ถุงเต้านมเทียม ซึ่งมีหลายขนาด รูปทรงกลม หรือ เสริมหน้าอกทรงหยดน้ำ วัตถุประสงค์เพื่อให้หน้าอกมีขนาดใหญ่ขึ้น มีรูปทรงที่ต้องการ นมสวยขึ้น เต่งตึงขึ้น ขึ้นอยู่กับความต้องการที่แตกต่างกันแต่ละบุคคล บทความนี้จะอธิบายถึง ประวัติความเป็นมา วิธีการผ่าตัด ชนิดของซิลิโคน ตำแหน่งการวางซิลิโคน และรูปรีวิวเสริมหน้าอกอีกมากมาย
ซิลิโคนทรงกลม เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในเคสเสริมนมทั่วๆไป ด้วยรูปทรงลักษณะกลม รอบวงซิลิโคนเท่ากันทุกๆส่วนทำให้มีความแน่น หน้าอกเต่งตึง เพิ่มความเด่น ดึงดูดสายตาได้ดี นอกจากนั้นซิลิโคนทรงกลมก็มี “ความพุ่ง” (Degree of Projections) แตกต่างกันหลายระดับให้เลือกใช้ แต่ในการเสริมหน้าอกวางเหนือกล้ามเนื้อ ในคนเนื้อน้อยอาจทำให้ เห็นหน้าอกเป็นบล้อกทรงกลมได้ และถ้าใส่ขนาดใหญ่เกินไปจะทำให้หน้าอกดูไม่ธรรมชาติ มีเนินหน้าอกสูงไม่เหมาะกับคนตัวไม่สูงมาก
เสริมหน้าอกทรงหยดน้ำ Tear Drop หรือ Anatomic implants ลักษณะพิเศษของรูปทรงที่คล้ายหยดน้ำ “ลีบบนขยายล่าง” ออกแบบมาให้คล้ายกายวิภาคหน้าอกตามธรรมชาติ ปริมาณซิลิโคนเจลจะเยอะในฐานล่างของซิลิโคน ซิลิโคนทรงหยดน้ำส่วนใหญ่จะเติมซิลิโคนเจลเป็นชนิดกึ่งแข็งกึ่งเหลวเพื่อให้คงรูปทรงหยดน้ำและสัมผัสยังนิ่มเหมือนซิลิโคนเจลทั่วๆไป
พื้นผิวของซิลิโคน มีให้เลือก 2 แบบ คือ แบบผิวเรียบ กับ แบบผิวทราย (Mentor) แต่ถ้าเป็นซิลิโคน Motiva จะมีผิวเดียวให้เลือก (Nano)
ตำแหน่งแผลผ่าตัดต่างๆ ทั้งทาง รักแร้,รอบปานนม,ใต้ราวนม
แผลผ่าตัดเล็กยิ่งเวลาผ่านไปจะจางจนมองไม่เห็น
การวางซิลิโคนแบบนี้เหมาะกับผู้ที่มีเนื้อหน้าอกอยู่บ้างแล้ว ไม่เหมาะกับคนที่มีรูปร่างผอมมาก หรือมีเนื้อหน้าอกน้อย เพราะจะดูไม่เป็นธรรมชาติ เมื่อเวลาผ่านไปจะยิ่งทำให้เห็นขอบถุงซิลิโคนชัดมากในผู้ที่มีผิวบาง และเกิดริ้วรอยรอบซิลิโคนได้ง่าย ถึงแม้ว่าวิธีนี้จะได้รับความเจ็บปวดน้อยกว่า แต่ก็มีโอกาสทำให้เกิดพังผืดได้สูงกว่าในอนาคต และรูปทรงหน้าอกหลังเสริมด้วยซิลิโคนที่ขนาดใหญ่มากๆ ก็จะมีโอกาสคล้อยลงได้มากกว่าอีกด้วย
การวางซิลิโคนแบบนี้จะดูเป็นธรรมชาติที่สุด เหมาะกับผู้ที่มีเนื้อหน้าอกน้อย วิธีนี้จะไม่เห็นขอบของถุงซิลิโคน การสัมผัสจะช่วยให้ได้รับความรู้สึกว่าเหมือนหน้าอกจริงมากกว่า เพราะถุงซิลิโคนจะซ่อนอยู่ใต้กล้ามเนื้อ แต่หากเกร็งกล้ามเนื้อหน้าอกอาจจะเห็นซิลิโคนเคลื่อนที่ได้ และเจ็บมากกว่า (ในระยะแรก)
เป็นการผ่าตัดแบบผสมผสาน2วิธี คือซิลิโคนจะอยู่ใต้กล้ามเนื้อบางส่วน และอยู่นอกกล้ามเนื้อ หรือใต้ต่อมชั้นไขมันนมบางส่วน วิธีนี้จะสามารถลดการขยับของซิลิโคนตามการหดเกร็งของกล้ามเนื้อได้ดีกว่าการเสริมนมแบบใต้กล้ามเนื้อปกติ หน้าอกจะมีทรงสวยดูเป็นธรรมชาติมากกว่าเสริมชนิดเหนือกล้ามเนื้อ ในระยะยาววิธีเสริมหน้าอกเหนือกล้ามเนื้อบางส่วนและใต้กล้ามเนื้อบางส่วน (Dual plane) ให้ผลดีกว่า เป็นบล็อกน้อยกว่า เป็นริ้วน้อยกว่า และไม่ทำให้หน้าอกคล้อยมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป แต่การผ่าตัดวิธีนี้ทำยากกว่าวิธีเหนือกล้ามเนื้อมาก ต้องอาศัยศัลยแพทย์ที่มีประสบการณ์ เพราะต้องออกแบบจัดเรียงชั้นกล้ามเนื้อ เพื่อวางซิลิโคนในตำแหน่งที่เหมาะสม หมอหลุยส์จาเรมผ่าตัดใช้วิธีนี้ Dual plane ทุกเคส
ตำแหน่งวางซิลิโคนแบบต่างๆ จากซ้ายไปขวา 1.Dual Plane 2.Subglandular 3.Submuscular
1.ไม่ควรนอนราบ ให้นอนพิงหมอนประมาณ 45องศา เพื่อไม่ให้แผลตึง ลดอาการเจ็บแผล
2.คอยหมั่นเช็คกระป๋องระบายเลือดว่ายังเป็น Negative Pressureอยู่หรือไม่
3.ทานยาแก้ปวดหรือยาฆ่าเชื้อตามเวลาที่แพทย์สั่ง
4.แผลไม่ควรถูกน้ำเป็นเวลา 4-5วัน หรือตามแพทย์แนะนำ
5ให้งดรับประทานของแสลงทุกชนิด เช่น ของสุกๆดิบ ส้มตำปูปลาร้า อาหารทะเลของสุกๆดิบๆ
6.ให้พันผ้าไว้ หรือใช้ Post-opบรา ใส่ให้อกกระชับไว้ 24ชั่วโมงในช่วง 1สัปดาห์แรก
7.มาตรวจกับแพทย์ตามเวลาที่นัดไว้เสมอ
หลังจากเสริมหน้าอกไปแล้ว ในช่วง1-2สัปดาห์แรก หน้าอกอาจจะมีอาการตึง ทำให้ใช้ชีวิตประจำวันได้ไม่ง่าย สามารถเกิดอุบัติเหตุจากการกระทบกระแทกหน้าอกได้ตลอดเวลา จนเกิดเป็นแผลผ่าตัดแยกขึ้นมา
กรณีหน้าอกไม่เท่ากัน ก่อนอื่นต้องแยกก่อนว่า เกิดในระยะสั้นหรือระยะยาว เพราะสาเหตุไม่เหมือนกัน ถ้าเกิดในระยะสั้นแสดงว่า ซิลิโคนอาจจะเลื่อนหลุดจากตำแหน่ง กรณีนี้ต้องเข้าไปผ่าตัดแก้ไขเย็บซ่อมตำแหน่ง Fixเนื้อเยื่อ แต่ถ้ากรณีเสริมหน้าอกมานานแล้ว เกิน10ปีขึ้นไป แสดงว่าซิลิโคนเดิมอาจจะแตกรั่ว หรือมีพังผืดมาเกาะที่ซิลิโคนก็เป็นได้ ทั้ง2สาเหตุนี้จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไข
ถ้าเกิดในเวลาไม่นานหลังผ่าตัดอาจเกิดจากอาการเลือดคั่งในหน้าอก Hematoma ถ้าปวดมากและบวมขึ้นเรื่อยๆ ควรผ่าตัดระบายเลือดออก ถ้าอาการปวดบวมเกิดขึ้นภายหลัง อาจเป็นอาการของพังผืดตามมาได้ ต้องผ่าตัดเลาะพังผืดออก
ถ้าใส่ซิลิโคนหน้าอกใหญ่เกินไป สามารถทำให้เกิดรอยแตกลายได้ ดังนั้นควรใส่ปริมาณซิลิโคนให้เหมาะสมกับร่างกาย
ก่อนอื่นต้องแยกอาการหน้าอก"แข็ง"กับหน้าอก"ตึง"ออกจากกันก่อน เพราะบอกครั้งคนไข้จะสับสนเพราะเสริมหน้าอกด้วยซิลิโคนที่ใหญ่ จะทำให้หน้าอกตึงได้ สัมผัสไม่นิ่มเหมือนนมจริงทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นหน้าอก "แข็ง"กรณีนี้ไม่ทำอะไร รอดูอาการให้เนื้อนมเข้าที่ เนื้อนมยืดขึ้นจากนั้นหน้าอกก็จะนิ่มลง ส่วนกรณี"หน้าอกแข็ง"นั้น จะเป็นอาการเริ่มต้นของพังผืดรัดรอบซิลิโคน แนะนำให้เข้ามาปรึกษาแพทย์เลาะพังผืดออก
8.แผลเป็นนูน คีรอยด์ Keloid
ตำแหน่งที่เกิดแผลเป็นช่วงหน้าอกขึ้นไป ใบหน้า มีโอกาศเสี่ยงเป็นคีรอยด์ได้ง่ายกว่าตำแหน่งอื่นๆ แต่มีรายงานว่าคีรอยด์เป็นลักษณะทางพันธุกรรมแบบหนึ่ง
คุณหมอออกแบบหน้าอก ตรวจร่างกาย วัดปริมาณเนื้อนม เลือกใช้ซิลิโคนขนาดที่เหมาะสมและอธิบายให้คนไข้ฟังทุกขั้นตอนอย่างละเอียด
สรุป
การจะตัดสินใจ เสริมหน้าอก ต้องดูตามความต้องการของเราก่อนว่าต้องการหน้าอกแบบไหน ขนาดใหญ่ดึงดูดใจ แบบพอดีตัวเสริมบุคลิก ใส่เสื้อผ้าสวย ไม่ต้องการเนินหน้าอกสูง อยากให้อกชิด ไม่ต้องการหน้าอกเป็นบล็อก ฯลฯ จากนั้นศึกษาหาข้อมูลด้วยตัวเองก่อน ถึงข้อดีข้อเสียของซิลิโคนรูปทรงต่างๆ ทั้งทรงกลมทรงหยดน้ำ ตำแหน่งผ่าตัด สุดท้ายต้องได้ปรึกษากับศัลยแพทย์ที่เราสนใจ แพทย์ผู้ซึ่งจะเป็นคนผ่าตัดให้เรา ได้สอบถามโดยตรง ฟังความคิดเห็นคำแนะนำต่างๆว่าเสริมนมแบบไหนเหมาะกับเรา เมื่อเราตัดสินใจแล้ว เราก็ต้องเชื่อฟัง ปฏิบัติตัว ดูแลตัวเองอย่างเคร่งครัด เพื่อให้แผลหายเร็ว หน้าอกทรงสวยถูกใจ
สนใจขอคำปรึกษาหรือสอบถามรายละเอียดได้ที่นี่
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง